ภาคหนึ่ง

เหตุผล

และหลักฐาน

 ทางคัมภีร์พระพุทธศาสนา

 ตายแล้วไปไหน

เรื่อง “ ตายแล้วไปไหน ” เป็นปัญหาที่น่าคิดและน่าสนใจมากเรื่องหนึ่ง ที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาค้นคิดกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ว่าคนเราตายแล้วไปไหน ? ตายแล้วเกิดอีกหรือเปล่า ? นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ? วิญญาณหรือจิตมีจริงหรือเปล่า ? ผีมีจริงหรือไม่ ? คำตอบต่อปัญหาเหล่านี้ คือสิ่งที่จะนำมาชี้แจงให้ทราบในที่นี้

เดิมทีเดียว แม้ผู้เขียนเองก็ไม่ค่อยเชื่อว่า ตายแล้วจะมีการเกิดอีกแม้เมื่อบวชเข้ามาแล้วก็ยังสงสัยอยู่ แต่เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง แต่ก็ยังไม่เชื่อสนิทใจอยู่นั่นเอง เพราะเป็นเพียง

พบหลักฐานในตำราเท่านั้น เมื่อได้ปฏิบัติกรรมฐาน และได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้เดินทางรอนแรมไปทั้งในประเทศไทยแล้วต่างประเทศหลายแห่ง ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ในที่สุดก็ต้องยอมรับตามที่พระพุทธเจ้าตรัสยืนยันไว้ว่า คนเราตายแล้วต้องไปตามกรรมของตน แต่ที่ว่าไปไหนนั้นยังให้คำตอบชี้ชัดลงไปแน่นอนไม่ได้ เพราะแล้วแต่กรรมที่ทำไว้จะเสกสรรค์ให้เป็นไป

 

 

 

จิตเป็นตัวนำไปเกิด

พระพุทธศาสนาเชื่อถือ ในสังสารวัฏ - การเวียนว่ายตายเกิดและถือว่าคนเราทุกคนล้วนเกิดมาแล้วทั้งสิ้น นับชาติไม่ถ้วน และเกิดในภพภูมิที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามกฎแห่งกรรมที่ได้ทำไว้ทั้งดีและชั่ว ถ้ายังมีกิเลสอันเปรียบเหมือนยางเหนียวในพืชอยู่ตราบใดก็ต้องเวียน ว่าย ตาย เกิดอยู่ตราบนั้น จิตที่ได้รับการอบรมแล้ว ถ้ายังไม่สิ้นกิเลส ก็ย่อมนำไปเกิดในภพภูมิที่ประณีต มีความสุข ประเสริฐ และสูงขึ้น แต่ถ้าจิตไม่ได้รับการฝึกอบรม ปล่อยไว้ตามสภาพที่มันเป็น ปล่อยให้สกปรกเศร้าหมองเพราะถูกกิเลสเกาะกิน นอกจากจะก่อความทุกข์ความเดือดร้อน ให้แก่ตนเองและสังคมในชาตินี้แล้ว ยังจะให้ภพชาติต่ำทรามลงไป ต้องประสบความทุกข์ ความเดือดร้อนมากในชาติต่อ ๆ ไปอีกด้วย

หากจะมีใครถามว่า “ ที่ว่าคนเราตายนั้น ร่างกายตายหรือจิตตาย หรือว่าตายทั้งสองอย่าง ” ขอตอบว่า “ ตายเฉพาะร่างกายเท่านั้น จิตหาได้ตายไปเหมือนกับร่างกายนั้นไม่ แต่ไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ตามแรงของกรรม ซึ่งส่งบุคคลเราไปเกิดในภพชาตินั้น ๆ เปรียบเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้ โดยที่เจ้าของไม่ได้เป็นอันตราย อยากจะถามว่า “ เมื่อเรือนถูกไฟไหม้เสียแล้วเจ้าของเรือนจะไปอยู่ที่ไหน ” ขอตอบว่า “ เขาจะต้องหาที่แห่งใหม่อยู่ตามที่เขาจะสามารถหาอยู่ได้ กล่าวคือ ถ้าผู้นั้นเป็นคนมีความสามารถดี มีเงินทองอยู่มาก หรือมีญาติพี่น้องคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ เขาก็อาจสร้างบ้านใหม่ได้ดี หรือไปอาศัยญาติพี่น้องอยู่ แต่ถ้าผู้นั้นไร้ความสามารถ ยากจนสิ้นเนื้อประดาตัว ไร้ญาติขาดมิตร เขาก็ย่อมไปหาที่อยู่ตามยถากรรมของเขา ฉันใด คนเราที่ตายไปจากโลกนี้แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อร่างกายเดิมใช้การมิได้แล้ว ก็ย่อมไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ตามพลังแห่งกรรมที่ตนได้ทำเอาไว้ ถ้าเขาทำกรรมดีไว้มาก คือพัฒนาอบรมจิตตนเองได้มากแล้ว ก็ย่อมไปบังเกิดในที่ดี มีความสุข ถ้าเขาทำความดีไว้น้อย แต่ทำความชั่วไว้มาก คือยังด้อยในด้านพัฒนาจิตใจของตนอยู่เขาก็ย่อมไปเกิดในที่มีความทุกข์ตามยถากรรมของตน

 

 

จิตเป็นตัวสั่งสมบุญและบาป

ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของจิต ก็คือ เป็นตัวสั่งสมบุญ บาปกรรมและกิเลสเอาไว้ ก็เมื่อจิตมีหน้าที่รับอารมณ์ จึงเก็บอารมณ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นบุญ ทั้งที่เป็นบาป ทั้งที่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปเอาไว้ แล้วเก็บไว้ในภวังค์ที่เรียกว่า ภวังคจิต เก็บไว้ได้หมดสิ้นอย่างละเอียด และสามารถนำติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปได้ด้วย

ลักษณะที่จิตเก็บบุญและบาปเอาไว้นั้น เหมือนกระดาษซับ ที่สามารถซับน้ำเอาไว้ คือ ตามปกติเมื่อมีน้ำหกราดลงบนโต๊ะ หรือบนพื้นห้องถ้ามีกระดาษซับ เรามักจะใช้กระดาษนี้ซับ น้ำที่หกราดนั้นให้แห้งไปได้ กระดาษซับสามารกเก็บน้ำได้หมดฉันใด จิตก็เหมือนกัน เมื่อคนเราทำบุญหรือบาปลงไปจิตก็ซับเก็บไว้ได้หมด ฉันนั้น จิตจึงเป็นสภาพพิเศษที่น่าศึกษาจริง ๆ และเราทุกคนก็ได้ใช้จิตสั่งงานอยู่เกือบตลอดเวลา คนฉลาดจึงเห็นคุณค่าในการพัฒนาจิต อบรมจิตของตน

ในเรื่องที่จิตสามารถเก็บบุญและบาปเอาไว้จนถึงนำข้ามภพข้ามชาติไปได้นี้ บางคนอาจจะสงสัยและคัดค้านว่า “ ถ้าหากว่าจิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาแล้ว จะติดตามจิตต่อไปได้อย่างไร เพราะบุญและบาปได้ดับไปพร้อมจิตดวงนั้นเสียแล้ว ”

ข้อนี้ขอเฉลยว่า ธรรมชาติของจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลา และเกิดดับสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย เหมือนกระแสไฟฟ้าที่ทำให้แสงสว่างติดต่อกันตลอด เพราะเกิดดับไวมาก อันธรรมชาติของจิตนั้น ก่อนที่มันจะดับ ไป ได้ถ่ายทอดทิ้งเชื้อ คือ บุญ บาป กรรม กิเลส ไว้ให้จิตดวงต่อไป เก็บไว้นำต่อไป แล้วแสดงผลออกมาเป็นระยะตามพลังแห่งกรรม คือบุญและบาปที่ได้สั่งสมไว้ บุญบาป มิได้สูญหายไปพร้อมกับความตายของร่างกาย หรือพร้อมกับความดับของจิต แต่ได้ถ่ายทอดสืบเนื่องไปตลอดเวลา เหมือนกับพันธุกรรมของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่ถ่ายทอดสืบต่อมาจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ทวด แม้ท่านจะตายล่วงลับไปแล้ว แต่ตัวท่านก็ยังมีอยู่ เพราะยีน (Gene) ซึ่งถ่ายทอดมาจากสเปอร์ม และไข่ อันเป็นเชื้อในพันธุกรรมของท่านซึ่งเปรียบเสมือนบุญและบาป ยังสืบต่ออยู่ในบุตรหลานของท่านเพราะฉะนั้น บุญ บาป จึงมิได้หายไปตราบเท่าที่คนนั้นยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ แม้จิตจะเป็นธรรมชาติเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม คนที่เคยพัฒนาตนไว้ดีเมื่อชาติก่อน ๆ เมื่อมาสู่ชาตินี้ จิตก็ยังมีคุณภาพสูงอยู่ ดังที่เราได้พบเห็นท่านผู้ที่มีบุญมากมาเกิด จึงเป็นคนมีรูปร่างดี ปัญญาเฉียบแหลม จิตใจเข้มแข็ง ประกอบด้วยเมตตากรุณา เป็นต้น แต่ถ้าผู้นั้นจะกินแต่บุญเก่าอย่างเดียว ไม่ยอมพัฒนาตนเองในปัจจุบัน พลังของบุญหรือพลังแห่งการพัฒนาตนไว้เมื่อชาติก่อนนั้นย่อมหมดไป ฉะนั้น คนที่ฉลาดจึงไม่หวังแต่กินบุญเก่าอย่างเดียว เขาจะพยายามเพิ่มบุญใหม่ด้วยการพัฒนาตน อบรมตนในปัจจุบันด้วย

 

  

บุญและบาป

เนื่องจากจิตเป็นตัวรับหรือเก็บเอาบุญบาปเอาไว้ ฉะนั้นการศึกษาให้เข้าใจเรื่องบุญบาปตามหลักพระพุทธศาสนา จึงมีความจำเป็นประการหนึ่งในการอบรมจิต เพราะจิตของคนที่สั่งสมบุญไว้มาก เป็นจิตที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากเป็นจิตที่ได้รับการพัฒนา ส่วนจิตของคนที่สั่งสมบาป หรือทำบาปไว้มาก เป็นจิตที่มีคุณภาพต่ำ เพราะการขาดการพัฒนา ฉะนั้น จิตของคนที่มีบุญมากกับมีบาปมาก จึงต่างกันมาก เหมือนกับสภาพของประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่ด้อยพัฒนา เราจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันประชาชนในหมู่ประเทศทั้ง ๒ มีความเป็นอยู่แตกต่างกันมาก

ลักษณะของบุญ

บุญ คือสภาวะของจิตที่เกิดขึ้นมาแล้วผ่องใส ดีงาม ให้ผลเป็นความสุข

บุญมีลักษณะที่จะเข้าใจได้ง่าย ๆ อยู่ ๓ ประการ คือ

ก . เมื่อกล่าวถึงเหตุของบุญ ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง

ข . เมื่อกล่าวถึงผลของบุญ ได้แก่ ความสุขกาย สุขใจทั้งในชาตินี้และในชาติต่อไป

ค . เมื่อกล่าวถึงสภาพของจิต ได้แก่ จิตใจที่สะอาดผ่องใส

เพราะฉะนั้น บุญก็คือการทำความดี อันเป็นเหตุทำจิตของตนให้ผ่องใสสะอาด แล้วก่อผลส่งผลให้เกิดความสุขความเจริญทั้งร่างกายและจิตใจ ให้แก่คนที่ทำบุญไว้ หรือคนที่อบรมจิตของตน หรือจะพูดอย่างย่อก็คือ บุญก็คือความสุขนั่นเอง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข ”

( องฺ .* สตฺตก . ๒๓ / ๙๕ / ๙๐ )

 


การยกหลักฐานจากพระไตรปิฎกมาอ้างอิงไว้ด้วย ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าที่เขียนมานี้ ไม่ใช่พูดขึ้นมาเองโดยไม่มีหลักฐาน และเพื่อให้ท่านผู้สนใจได้ค้นเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกโดยตรง

พระไตรปิฎกที่ยกมาอ้างอิงนี้ เป็นฉบับบภาษาบาลี อักษรย่อตัวแรก หมายถึงชื่อคัมภีร์ ตัวที่ หมายถึงหมวดของคัมภีร์นั้น ตัวเลขอันดับแรก หมายถึงเล่มของพระไตรปิฎก . อันดับสอง หมายถึงข้อ . อันดับสาม หมายถึงหน้าของพระไตรปิฎกเล่มนั้น เช่น องฺ . สตฺตก . หมายถึง สัตตกนิบาต . ๒๓ หมายถึงเล่มที่ ๒๓ . เลขอันดับกลาง คือ ๙๕ หมายถึง ข้อที่ ๙๕ ส่วน ๙๐ หมายถึงหน้า ๙๐

 

ลักษณะของบาป

บาป คือ สภาวะของจิตที่เกิดขึ้นแล้วเศร้าหมอง เร้าร้อน ให้ผลเป็นความทุกข์

ส่วนบาปนั้น มีลักษณะตรงกันข้ามกับบุญ ซึ่งมีลักษณะ ๓ อย่าง เช่นเดียวกัน คือ

ก . เมื่อกล่าวถึงเหตุของบาป ได้แก่ การทำชั่วทุกอย่าง

ข . เมื่อกล่าวถึงผลของบาป ได้แก่ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า

ค . เมื่อกล่าวถึงสภาพของจิตใจ ได้แก่ ความสกปรกเศร้าหมองของจิตใจ

ฉะนั้น บาปก็คือชั่ว อันเป็นเหตุทำจิตใจของตนให้สกปรกเศร้าหมอง แล้วส่งผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อน พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนไว้ว่า “ ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะว่าความชั่วย่อมตามเผาผลาญในภายหลังได้ ”

( ขุ . . ๒๕ / ๓๒ / ๕๖ )

ปัญหาเรื่องนรกสวรรค์

ปัญหาเรื่อง นรกสวรรค์ ผีสาง เทวดา มีจริงหรือไม่ ถ้ามี มีอยู่อย่างไร ? เป็นปัญหาที่น่าสนใจของคนทั่วไปในโลก ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เป็นปัญหาที่ขบคิดกันมานานตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน

ผู้สอนศีลธรรมในโรงเรียน ไม่ว่าในระดับไหน มักจะได้รับคำถามเรื่อง เทวดา นรก สวรรค์ อยู่เสมอ รวมทั้งพระสงฆ์และอนุศาสนาจารย์ ก็ได้รับคำถามเช่นนี้ด้วย

ในฐานะที่เรานับถือพระพุทธศาสนา จึงควรศึกษาให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ เพราะเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาอย่างแยกไม่ออก ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาวพุทธที่ต้องค้นคว้าศึกษาให้ทราบว่า พระพุทธเจ้า ได้ตรัสถึงสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างไรบ้าง ถ้าตรัสไว้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อะไรบ้าง ใจความว่าอย่างไร เพื่อเราจะรับสิ่งเหล่านี้อย่างมีหลักฐาน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานอ้างอิง

เรื่องนรกสวรรค์ มีความสัมพันธ์กันอย่างแยก ไม่ออกกับเรื่องกรรมและเรื่องหลักสังสารวัฏตามหลักพระพุทธศาสนา ในพระไตรปิฏกได้กล่าวในเรื่องนรก - สวรรค์ว่ามีอยู่จริงในจักรวาลนี้เอง ซึ่งสวรรค์ก็คือ เทวภูมิ เป็นที่อาศัยของเทวดามี ๖ ชั้น อยู่เหนือยอดเขาสิเนรุ ณ ใจกลางของจักรวาล ส่วนนรก หรือนริยภูมิ เป็นที่อาศัยของสัตว์นรก มี ๘๐ ขุม อยู่ใต้เขาสิเนรุ เป็นที่มีความร้อนสูงมาก

พระพุทธศาสนายืนยันว่าคนเราตายแล้วเกิดจริง

พระพุทธศาสนายืนยันว่า การเวียนว่ายตายเกิดมีอยู่จริงซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาจำนวนมาก เช่นในคัมภีร์ชาดกเปตวัตถุ วิมานวัตถุ และพระสูตรต่าง ๆ ดังเช่นที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในบาปวรรคแห่งคัมภีร์ธรรมบทว่า

“ คพฺภเมเก อุปปชฺชนฺติ นิรย  ™ ปาปกมฺมิโน

สคฺค ™ สุคติโน ยนฺติ ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา . ”

แปลว่า “ คนบางพวกเกิดในครรภ์ คนบางพวกที่ทำกรรมชั่วไว้ไปนรก คนบางพวกที่ทำกรรมดีไว้ไปสู่สวรรค์ส่วนท่านที่หมดกิเลสแล้วทั้งหลายย่อมนิพพาน ”

นี้เป็นตัวอย่างเท่านั้น ในบรรดาพุทธภาษิตเป็นจำนวนมากที่ยืนยันการเวียนว่ายตายเกิด พระบาลีข้างต้น นี้คือพระดำรัสยืนยันการเวียนว่ายตายเกิด พระบาลีข้างต้นนี้คือพระดำรัสยืนยันของพระพุทธเจ้า

จากพระบาลีนี้ จะเห็นได้ว่า คนเราตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ผู้ที่ตายแล้วไม่เกิดอีกนั้น คือ พระอรหันต์ . ทำไม พระอรหันต์สจึงไม่เกิดอีกทั้งนี้ก็เพราะท่านหมดกิเลสอันเป็นหมือนยางเหนียวในพืชแล้ว คือ ถ้าเป็นพืชก็ปลูกไม่ขึ้นเพราะหมดยางเหนียวแล้ว จิตของพระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว จึงไม่เกิดอีก แต่สำหรับเราทั้งหลาย เมื่อตายแล้ว แม้เราไม่อยากเกิดก็ต้องเกิดอีก เพราะเรายังมีกิเลสอันเป็นเหมือนยางเหนียวในพืชอยู่

 

กำเนิด

๑ สัตว์โลกที่ไปเกิดอยู่ในภูมิทั้ง ๓๑ ภูมินั้น ย่อมเกิดในกำเนิดทั้ง ๔ คือ

 


๑ . คำว่า “ สัตว์ หรือ สัตว์โลก ” แปลว่า “ ผู้ที่ยังข้องอยู่ ” คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่าง ๆ ฉะนั้น จึงหมายรวมถึงมนุษย์ เทวดา พรหม ในทุกภพภูมิ และสัตว์ในอบายภูมิทั้ง ๔ มิได้หมายเฉพาะถึงสัตว์ดิรัจฉานประเภทเดียว

๑ . ชลาพุชะ เกิดในครรภ์

๒ . อัณฑชะ เกิดในไข่

๓ . สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล

๔ . โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น

( ม . มู . ๑๒ / ๑๖๙ / ๑๔๗ )

ชลาพุชะกำเนิด ได้แก่สัตว์ที่เกิดในมดลูก คือ มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานที่คลอดออกมาเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ แมว เป็นต้น

อัณฑชะกำเนิด ได้แก่สัตว์ดิรัจฉานที่ออกมาเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักออกมาเป็นตัว เช่น เป็ด ไก่ นก ปลา เป็นต้น

ชลาพุชะกำเนิดและอัณฑชะกำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกะ กำเนิด เพราะเกิดอยู่ในครรภ์ของมารดาก่อนภายหลังจึงออกจากครรภ์

สังเสทชะกำเนิด ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เกิดโดย ไม่อาศัยท้องพ่อแม่ แต่อาศัยเกิดจากที่ชื้นแฉะ ซากพืชและซากสัตว์

โอปปาติกะกำเนิด ได้แก่สัตว์โลกที่เกิดมา โดยไม่ได้อาศัยพ่อแม่ แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียวและเมื่อเกิดก็เติบโตขึ้นทันที เช่น พวกสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม มนุษย์ในสมัยต้นกัป ๑ เป็นต้น

 


๑ . ตามหลักพระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์ที่มีขึ้นในยุคแรกในโลกนี้ เรียกว่า “ มนุษย์ในสมัยต้นกัป ” และมนุษย์ในยุคแรกนี้จุติมาจากพรหมโลกชั้นอาภัสสรา ซึ่งได้สำเร็จทางใจ มีปิติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง สัญจรไปมาในอากาศ เมื่อมาอาศัยโลกนี้นานเข้า ร่างกายก้วิวัฒนาการขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเป็นมนุษย์หญิงชายสืบสายเชื้อสายกันมาจนถึงปัจจุบัน

อัคคัญญสูตร ที . ปา . ๑๑ / ๕๖ / ๙๒ - ๙๓

 
 

 

1 I 2 I 3 I 4 I 5 I 6 I 7 I 8 I 9 I 10 I 11